Tanabata (ทะนะบะตะ) หรือเทศกาลแห่งดวงดาว เป็นเทศกาลที่แสนจะโรแมนติก เพราะมีการเล่าสืบต่อกันมาถึงความรักที่ต่างชนชั้นกันของคนสองคน เทศกาลนี้จะมีขึ้นทุกปีของวันที่ 7 เดือน 7 จึงเป็นที่รู้จักกันดีในภาษาอังกฤษว่า Seven Evening ซึ่งจะเป็นค่ำคืนที่ดาว Vega (Orihime ชื่อของสาวทอผ้า) กับดาว Altair (Hikohoshi ชื่อของหนุ่มเลี้ยงวัว) จะสุกใสสว่างที่สุดบนท้องฟ้า และจะโคจรเข้ามาใกล้กันที่สุดในรอบปี จึงเปรียบเป็นเรื่องเล่าจากตำนานกล่าวไว้ว่า

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วที่ฝั่งแม่น้ำด้านเหนือ ของ "อามาโน่ คาวา(ทางช้างเผือก)" บนสวรรค์มีลูกสาวของเทพผู้ครองสวรรค์ นางหนึ่งชื่อว่า "โอริ ฮิเมะ" นางสวยงามและขยันขันแข็งทำงานตัวเป็นเกลียว ไม่ยอมหยุด งานของ "โอริ ฮิเมะ" เป็น หน้าที่ประจำคือ "การทอผ้า" และผ้าที่ "โอริ ฮิเมะ" ทอนั้นก็สวยงามประณีตเป็นที่พึงพอใจของ หมู่เหล่าทวยเทพทั้ง หลายทุกถ้วนหน้า

และการที่ผ้าที่"โอริ ฮิเมะ"ทอแล้วเป็นที่พึงพอใจ ของหมู่ทวยเทพทั้งหลายนั้น จึงทำให้"โอริ ฮิเมะ" ต้องทอผ้าอยู่ตลอดวันตลอดคืน แต่นางก็ขยัน ขันแข็งไม่เคยหยุดงานทอผ้าของนางเลย..ความที่นางไม่เคยหยุดพัก ผ่อน..

จึงเป็นเพราะการนี้ เทพผู้ครองสวรรค์ผู้เป็นบิดาก็ ให้เป็นห่วงและสงสารธิดามากจึงคิดที่จะให้นางได้มีคู่ครองนางจะได้มีความสุขเล็ก ๆน้อย ๆ บ้าง เทพผู้เป็นบิดาจึงประกาศหาคู่ให้กับ"โอริ ฮิเมะ" แล้วการเลือกคู่ของ"โอริ ฮิเมะ"ก็บังเกิด ขึ้น นาง ถูกตาต้องใจชายหนุ่มที่ชื่อ "ฮิโกโบชิ"มาก ชายหนุ่ม ผู้นี้เป็นคนเลี้ยงวัวอยู่ฝั่ง ด้านใต้ ของ "อามาโน่ คาวา (ทางช้างเผือก)" "ฮิโกโบชิ"เป็นชายหนุ่มที่ขยัน ขันแข็งไม่แพ้ไปจาก"โอริ ฮิเมะ" และที่สำคัญคือชายหนุ่มร่างกายกำยำและ สง่างามเป็นที่สุด..

"โอริ ฮิเมะ" ถูกตาต้องใจและลุ่มหลงชายหนุ่ม "ฮิโกโบชิ"เป็นอันมาก.."ฮิโกโบชิ"ก็ดูจะถูกใจในตัว"โอริ ฮิเมะ"เหมือนกัน เทพผู้เป็นบิดา เห็น ว่าทั้งสองถูกตาต้องใจกันอย่างนั้น จึงจัดการให้ทั้งสอง ได้แต่งงานกันสมดังใจปรารถนา..

ตามเนื้อเรื่องทุกอย่างฟังแล้วดูเหมือนจะ มีความสุข.. แต่ตรงนี้ก็เกิดปัญหาขึ้นมาเข้าจนได้เพราะเมื่อ "โอริ ฮิเมะ"กับ"ฮิโกโบชิ"ได้แต่งงานกันแล้ว "โอริ ฮิเมะ"ก็ไม่ยอมทำงานทอผ้า ของนางอย่างแต่ก่อน..ทั้งสองจะออกไปเที่ยวด้วยกันทุกวัน ทุกคืน "โอริ ฮิเมะ" มีความสุขมากและลุ่มหลง"ฮิโกโบชิ"จนเหลือคนานับลุ่มหลงจนลืมหน้าที่ และ งานประจำของนาง...ใหม่ ๆเทพผู้เป็นบิดา ก็ให้อภัยมาตลอด

แต่ยิ่งนานวันเข้า "โอริ ฮิเมะ" ก็ยิ่งหลงระเริงไปกับ ความรักจนลืมหมดทุกสิ่งทุกอย่างเอาแต่ออก ไปเที่ยวกับ"ฮิโกโบชิ" หนักเข้าเทพผู้บิดาจึงเกิด พิโรธจึงลงอาญาสาปให้ทั้ง สองแยกจากกันไปคนละทิศ " ต่อจากนี้ให้แยกเจ้าทั้งสองไปอยู่คน ละฝากฝั่งของ "อามาโน่ คาวา(ทางช้างเผือก)" ให้แยกจากกันไปอยู่แต่คนละทิศ แต่บัดนี้ "

มื่อ"ฮิโกโบชิ" โดนแยกจากไปแล้ว "โอริ ฮิเมะ" ก็ให้เป็นโศกเศร้าอาดูรที่ต้องพรัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักนางร่ำอาลัย "ฮิโกโบชิ"ผู้เป็นสามีสุด ที่รัก จนน้ำตาแทบจะเป็นสายเลือด เทพผู้เป็นบิดาเฝ้ามองความเศร้าโศกของนางทุกวันทุกคืน.. เทพผู้เป็นบิดาเห็นอาการ ของนางร้ายแรงแบบนั้นก็ให้เป็นสงสารนางอย่างสุดที่จะทนอยู่ได้ จึงบอก อนุญาตนางว่า "ในทุก ๆปีให้นางข้าม อามาโน่คาวา(ทางช้างเผือก)ไปพบ "ฮิโกโบชิ" ได้หนึ่งครั้ง แล้ววันนั้นก็คือวันที่ 7 เดือน 7 (กรกฏาคม)ของทุก ๆปี

แล้วจากนั้นมา...ทั้งสองจึงได้เกิดมีความหวัง ว่าจะ ได้พบกันถึงแม้ว่าจะเป็น หนึ่งปีหนึ่งครั้งก็ตาม"โอริ ฮิเมะ"จึงกลับมา ขยันขันแข็งตั้งหน้าตั้งตา ทำงานทอผ้าของนางต่อเหมือนเดิม..

และในทุก ๆปี ของวันที่"อามาโน่ คาวา(ทาง ช้างผือก) จะ ออกมาปรากฏบนท้องฟ้านั้น ก็เป็นอันว่า "โอริ ฮิเมะ"และ"ฮิโกโบชิ" ก็จะได้มาพบกันสมดังใจ ปรารถนา..ค่ะ..จบแล้วสำหรับเนื้อเรื่องความเป็นมา Romantic ดีไหมค่ะ..ที่มาของ"ความรักแห่ง ทางช้างเผือก "

แต่ตำนานนี้ก็อาจจะมีการผิดเพี้ยนไปบ้างเพราะว่าแต่ละแห่งก็เล่าไม่เหมือนกัน แต่ก็มีส่วนใกล้เคียงกันมาก ส่วนกิจกรรมในวันนี้ที่ญี่ปุ่นปัจจุบันจะมีการนำกระดาษ 5 สี หรือ (Tanzaku) มาเขียนคำอธิฐานทั้งเรืองงาน ความรัก การเรียน สุขภาพ เป็นต้น และยังมีการนำกระดาษมาตัดเป็นรูปคล้าย ๆ โซ่แทนสัญลักษณ์ของทางช้างเผือก แล้วนำไปแขวนไว้ที่ต้นไผ่ และนำมาประดับไว้ตามบ้าน วัด หรือโรงเรียน และยังมีขบวนพาเหรดแห่กันใหญ่โตและสวยงาม เทศกาลนี้จึงเป็นเทศกาลที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดอีกเทศกาลหนึ่ง โดยเฉพาะจังหวัด Hiratsuka ใกล้โตเกียว จัดในช่วงกรกฏาคมซึ่งตรงกับวันที่ 7 เดือน7 ตามปฎิทินปัจจุบัน และ จังหวัด sendai ซึ่งจะจัดในช่วงสิงหาคมซึ่งใกล้เคียงกับวันขึ้น7ค่ำเดือน7 ตามปฎิทินจันทรคติ

" กระดาษ 5 สีที่ใช้ในปัจจุบัน"
พิธีการและธรรมเนียมการอธิษฐานขอพรทำนองนี้ มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีนชื่อเทศการ " ชีซี (เทศกาลแห่งความรัก) " จะทำขึ้นในวันขึ้น 7 ค่ำเดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติของทุกปี... ได้มีผู้เชี่ยวชาญที่ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมวัฒนธรรมพื้นบ้านของมณฑลเหอเป่ย นายหยวนเสียว์จวิ้น ออกมาระบุว่า นี่คือ "เทศกาลแห่งความรัก" ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

เล่ากันต่อ ๆ มาว่าในอดีตเทศกาลนี้ ได้เผยแพร่เข้ามาในประเทศญี่ปุ่นโดยเรียกชื่อว่า การฉลอง Tanabata นี้เริ่มในศตวรรษที่ 9 หรือที่ 10 แต่เพิ่งจะได้รับความนิยมในสมัย Tokugawa (ค.ศ. 1603-1837) ชาวบ้านโตเกียว เริ่มฉลอง Tanabata กัน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา ชาวญี่ปุ่นก็เริ่มเขียนกลอนไปไว้บนต้นไผ่ ส่วนของที่แขวนบนต้นไผ่ก็จะมี กระดาษที่ใช้อธิฐานที่เรียกว่า tanzaku จะตัดเป็นรูปกิโมโนสำหรับเจ้าหญิงทอผ้า กับด้ายห้าสี สำหรับชายเลี้ยงวัว พอแขวนจนพอใจแล้ว ก็จะนำต้นไผ่นั้นไปลอยแม่น้ำ

ทั้งนี้ ดาวชายเลี้ยงวัวคือดาวอัลแทร์ ในกลุ่มดาวนกอินทรี ส่วนดาวของหญิงทอผ้าก็คือ ดาววีกา ใน กลุ่มดาวพิณ

メインメニュー

ประเพณี และเทศกาลญี่ปุ่น一覧

携帯サイト