อิงคัง ตราประทับหรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฮังโกะนั้นเอง บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมที่ญี่ปุ่นจะไม่ค่อยใช้ลายเซ็นต์เหมือน ประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ แต่ว่าจะใช้อิงคังแทน ไม่ว่าจะเป็น การรับจดหมายที่ต้องเซ็นต์ การถอนเงินในธนาคาร การยื่นใบคำร้องต่อหน่วยราชการ หรือเอกชน ก็ต้องใช้ อิงคังในการประทับทั้งนั้น ซึ่งอิงคังนั้นทำมากจากไม้ งาช้าง แก้วผลึก หิน หรือวัสดุอื่นๆ แกะเป็นชื่อสกุลของ
เจ้าของ จะใช้อิงคังกับหมึกสีแดง วึ่งถือว่าถูกต้องทางด้านกฎหมาย ส่วนชื่อสกุลของคนสามัญทั่วไปก็จะหาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป แต่ถ้าหากต้องการซื้อทรัพย์สินหรือจัดการเกี่ยวกับเงินจำนวนมากจำเป็นต้องใช้ฮังโกะที่เรียกว่า จิสึอิง ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นทางการแล้ว ดังนั้นการ
เบิกเงินจากธนาคารจะทำได้โดยใช้ฮังโกะซึ่งได้ใช้ประทับตราในสมุดบัญชี เมื่อตอนเปิดบัญชีนั้น
โดย ปกติจะสลักชื่อผู้ใช้หรือชื่อองค์การหรือบริษัท สำหรับการดำรงฃีวิตในสังคมของคนญี่ปุ่น อิงคังเป็นสิ่งหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้สำหรับการยืนยันลายเซ็นหรือชื่อที่ พิมพ์ขึ้นของ บุคคลบนเอกสารแทบทุกชนิดยกเว้นงานเขียนส่วนตัว อิงคังส่วนมากจะแบ่งเป็น 3 ชนิดตามการใช้ ได้แก่อิงคังที่จดทะเบียนใช้ในทางกฎหมาย อิงคังสำหรับการธนาคารและอิงคังส่วนตัว อิงคังส่วนตัวซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไม่เป็นทางการ โดยปกติจะเรียกว่า ฮังโคะ แต่ปัจจุบันในญี่ปุ่นใช้บัตรเครดิตกันอย่างแพร่หลายและการเซ็นลายเซ็นอย่าง เดียวก็ใช้กันในธุรกิจเช่นกัน แต่หากไม่ประทับอิงคังไว้ในฟอร์มใบสมัครบัตรเครดิตก็จะไม่ยอมออกบักให้
สำหรับการติดต่อทางธุรกิจเล็กๆน้อยๆ ชาวญี่ปุ่นใช้ฮังโกะธรรมดาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเรียกว่ามิโตเมะอิน นอกจากนั้นฮังโกะชนิดนี้ ยังใช้ประทับตราใบรับสำหรับไปรษณีย์ด่วนทางจดหมายลงทะเบียนและพัสดุและใช้ประทับตราบนเอกสารที่ที่ทำงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าเอกสารนั้นได้เวียนให้อ่านแล้ว ฮังโกะนั้นใช้กันมากจนคิดกันว่าชีวิตจะดำรงอยู่ไม่ได้หากไม่มีฮังโกะ