ศิลปะและวัฒนธรรมญี่ปุ่น一覧

เกอิชา (「芸者」, geisha, - เกชะ?, ศิลปิน) เป็นอาชีพหนึ่งของสตรีญี่ปุ่นในสมัยก่อน ถือว่าเป็นผู้ที่ชำนาญทางศิลปะ และให้ความเพลิดเพลินบันเทิงใจ เป็นเสมือนผู้คอยต้อนรับและปรนนิบัติแขก เกอิชามีอยู่แพร่หลายอย่างมากในญี่ปุ่น ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ19 เมื่อ ค.ศ. 1920 มีจำนวนเกอิชาถึง 80,000 คน ส่วนในปัจจุบันแม้ว่าจะยังมีอาชีพเกอิชา แต่จำนวนค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับเกอิชาฝึกหัดจะเรียกว่า ไมโกะ (「舞子」, maiko, 舞子?)
คำว่า \"เกอิชา" นั้น ภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่า \"เกชะ" ในแถบคันไซ เรียกว่า เกงิ (芸妓, げいぎ) ส่วนเกอิชาฝึกงาน หรือ \"เกโกะ" (芸子, げいこ) นั้น มีใช้มาตั้งแต่สมัยเมอิจิ ส่วนคำว่า \"กีชา" ที่เรียกว่า \"สาวเกอิชา" นั้น นิยมเรียกในช่วงปฏิบัติการร่วมระหว่างญี่ปุ่นและอเมริกา หมายถึง หญิงขายบริการ แต่เรียกตัวเองว่า \"เกอิชา\"
อาชีพของเกอิชานั้น พัฒนาขึ้นมาจาก ไทโคะโมะชิ หรือ โฮคัง ซึ่งคล้ายกับพวกตลกหลวงในราชสำนัก เกอิชาในสมัยแรกนั้นล้วนเป็นผู้ชาย ส่วนผู้หญิงที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกันนั้น จะเรียกกันว่า \"อนนะ เกชะ" (女芸者) หรือ เกอิชาหญิง แต่ในปัจจุบัน เกอิชาเป็นหญิงเท่านั้น

คำว่า \"คาบูกิ บูโย\" แปลว่า ศิลปะการร้อง และเต้น
ปัจจุบัน คาบูกิ บูโย ยังคงรักษาเอกลักษณ์เฉพาะตัว
เน้นผู้แสดงเป็นหลัก มีการเคลื่อนไหวที่กระฉับกระเฉง
แสดงออกซึ่งท่าทางที่มีความหมาย โดยจะมีการแต่งหน้าขาว
ลวดลายที่เป็นสีแต่งหน้าจะมีเพียง 3 สี คือ แดง ฟ้าคราม และน้ำตาล
ตามด้วยการตวัดเส้นสีดำทับอีกที และ ทาริมฝีปากด้วยสีแดงแช้ด
ทรงผมแบบญี่ปุ่นมีปิ่นปักด้านหลัง สวมชุดกิโมโนสีสันสวยงาม

พิธีชงชา หรือ ชะ-โนะ-ยุ ได้ถ่ายทอดมาจากประเทศจีนเมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 16 เชียวนะคะจึงสามารถสร้างรูปแบบอย่างที่เห็นในปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์ในฐานะ
ของซะโด อากัปกริยาของผู้ที่ชงชาตั้งแต่ใส่มัตชะ (ชาผงสีเขียว) ลงในถ้วยชา
เทน้ำร้อนลงไปคนถ้วยด้วยชะเซ็น (ที่ชงชาทำด้วยไม่ไผ่) แล้วดื่มเข้าไปนั้น ได้รับ
การยกย่องว่าเป็นศิลปะทั้งสิ้นค่ะ

ชะโดไม่เพียงแต่เป็นความงามในรูปแบบของศิลปะเท่านั้น แต่ยังตั้งอยู่บนพื้นฐานของ
จิตวิญญาณของลัทธิเซ็นในศาสนาพุทธด้วยค่ะ กล่าวคือเป็นการฝึกจิตเพื่อเข้าไปสู่วะบิ
หรือ สภาพจิตใจอันสงบและพึงพอใจในการแสวงหาความงามจากความเรียบง่าย ทั้งนี้พัฒนาการของพิธีชงชาทำให้มีการพัฒนาคุณภาพของเครื่องเซรามิกและ เครื่อง
เงินของญี่ปุ่นให้สูงขึ้น อีกทั้งเซ็นชะยังได้สร้างรูปแบบของพิธีชงชาที่เรียกว่า เซ็นชะโด
ขึ้นมาอีกด้วย

คาบูกิเป็นศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิมที่เป็นที่รู้จักกันดีอีกอย่างหนึ่งของ ญี่ปุ่น เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 โดยนางรำที่ชื่อว่า Izumo no okuni กับคณะละครของเธอ ในสมัยนั้นยังไม่ประณีตบรรจงเท่าปัจจุบันจึงไม่น่าสนใจ เดิมละครคาบูกิจะใชผู้หญิงเล่นเป็นตัวนาง ซึ่งผู้หญิงเหล่านั้นมักจะเป็นโสเภณี แต่เพราะเป็นผู้หญิง การแสดงจึงดูอ่อนช้อยและงดงามแต่ในสมัยโทคุกาวามีการห้ามโดยเด็ดขาด ด้วยเห็นว่าไม่ดีงามต่อศิลธรรม ตัวละครจะมีการเคลื่อนไหวที่กระฉับกระเฉง แสดงออกซึ่งท่าทางที่มีความหมาย เช่น ร้องไห้ เสียใจ ดีใจ โกรธ บ้าคลั่ง ฯลฯ จึงทำให้ละครคาบูกิเป็นที่นิยมดูกัน การแสดงถูกพัฒนามาเรื่อยๆจนกลายเป็นที่นิยมที่สุดในสมัยเอโดะศตวรรษ ที่ 20 แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นละครคลาสสิคเนื่องจากคาบูกิเป็นรูปแบบความ บันเทิงที่ผสมผสานกันหลากหลาย ตั้งแต่ดนตรี การร่ายรำ การเล่าเรื่องตลกชวนหัว เรื่องเศร้าซึ้งและทุกๆอย่างที่ผู้ชมต้องการดู ในละครคาบูกิไม่มีผู้แสดงหญิง ใช้นักแสดงชายแสดงเป็นผู้หญิงซึ่งเรียกว่า อนนะงาตะ

การส่ง ของขวัญ ความหมายดั้งเดิมของการส่ง ของขวัญ คือ การสื่อความรู้สึกไปสู่อีกฝ่ายหนึ่งใน
รูปของสิ่งของ เวลาส่ง ของขวัญ คนญี่ปุ่นจะให้การเอาใจใส่กับการห่อของขวัญ มาตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้วการไม่แสดง แล้ว การไม่แสดงความรู้สึกออกมาอย่างโจ่งแจ้ง ถือเป็นความงดงามทางคุณธรรมอย่าง หนึ่งคนญี่ปุ่นสมัยก่อนจึงได้พยายามหาวิธีที่จะ ห่อของขวัญ ให้ดูสวยงามจึงได้ให้กำเนิด
"วิธีการห่อ ของขวัญ " ที่งดงามเกิดขึ้นมากมาย